ฉันควรยื่นภาษีเงินได้หรือไม่?
พิจารณาการยื่นภาษีเงินได้
สำหรับการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเพียร์ พาวเวอร์
กรณีฐานภาษีที่นักลงทุนเสียอยู่ ณ ปัจจุบันสูงกว่าหรือเกิน 15% ไปแล้ว นักลงทุนไม่จำเป็นต้องนำไปคำนวณรวมกับรายการรายได้ เนื่องจากดอกเบี้ยที่ได้รับถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% หรือที่เรียกว่า Final Tax ไปเรียบร้อยแล้ว(ภงด.2) ดังนั้นนักลงทุนไม่ต้องนำรายได้มาคิดใหม่
ในทางตรงกันข้าม หากฐานภาษีของนักลงทุนไม่ถึง 15% ควรนำกลับมารวมกับรายได้ เนื่องจากนักลงทุนถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้ว ซึ่งเปอร์เซ็นต์ภาษีมันมากกว่าที่นักลงทุนควรจะจ่ายตามปกติ และนักลงทุนสามารถขอเคลมเงินภาษีที่จ่ายเกินคืนกลับมา
----------------
วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดเป็นอัตราภาษีแบบขั้นบันได ดังนี้
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี |
1 - 150,000 บาท | ได้รับการยกเว้น |
150,000 - 300,000 บาท | 5% |
300,001 - 500,000 บาท | 10% |
500,001 - 750,000 บาท | 15% |
750,001 - 1,000,000 บาท | 20% |
1,000,001 - 2,000,000 บาท | 25% |
2,000,001 - 5,000,000 บาท | 30% |
5,000,000 บาทขึ้นไป | 35% |
----------------
การยื่นภาษีเงินได้
สำหรับกรณีผู้ได้รับเงินได้เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แบบบุคคลธรรมดา ซึ่งได้รับรายได้ 'ตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งรัษฏากรเฉพาะ ได้แก่ ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ฯลฯ'
ในกรณีที่นักลงทุนต้องการกรอกภาษีออนไลน์ หลังจากที่คลิกเลือก 'รายได้จากการลงทุน' บนหน้ายื่นแบบภาษีออนไลน์
- -เลือก 'ดอกเบี้ย เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ ประโยชน์ใดๆ จากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล เงินเพิ่มทุน เงินลดทุน (มาตรา 40(4))'
- ในส่วนของประเภท 'ประเภทธุรกิจ' ให้นักลงทุนเลือก 'ดอกเบี้ย (เฉพาะที่ไม่เลือกภาษีในอัตราร้อยละ 15.0) / เงินเทียบเท่าเงินปันผลจาก THAI NVDR'
หมายเหตุ*
ผู้ออกหุ้นกู้(Issuer) เป็นผู้ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่าย, เพียร์ พาวเวอร์จะทำหน้าที่จัดเตรียมเอกสารให้กับทั้งสองฝั่ง (ผู้ออกหุ้นกู้-นักลงทุน) สำหรับยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ดูวิธีดาวน์โหลดเอกสารทางการเงิน